* การดูแลผู้ป่วยในระยะหลังผ่าตัด : ให้การพยาบาลเพื่อ ความปลอดภัยและสุขสบายของผู้ป่วยเมื่อสิ้นสุดการผ่าตัด ดังนี้ 1. ประเมินและรวบรวม ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการทั้งด้านร่างกายและจิตใจ 2. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดตามขอบเขตของวิชาชีพ 3. ประสานงานกับทีมพยาบาล ประจำหอผู้ป่วยหรือหออภิบาลผู้ป่วยหนัก เพื่อวางแผน การเริ่มฟื้นฟูสภาพ ( Early ambulation ) และการดูแลต่อเนื่อง 4. ช่วยเหลือบรรเทาอาการไม่สุขสบาย 5. ให้กำลังใจและสนับสนุนการปรับตัวภายหลังการผ่าตัด * การเคารพในศักดิ์ศรีและสิทธิของผู้ป่วย : มีหน้าที่ปฏิบัติต่อผู้ป่วย โดยเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนี้ 1. การให้ข้อมูลใด ๆ การ Approach ผู้ป่วย และครอบครัว กระทำบนพื้นฐานของ สัมพันธภาพที่ดี 2. ให้ข้อมูลก่อนผ่าตัดเกี่ยวกับการผ่าตัดตามขอบเขตของวิชาชีพ หรือประสานงานกับแพทย์ เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย / ครอบครัว เพื่อตัดสินใจรับการผ่าตัดและลงนามยินยอมผ่าตัด ( ยกเว้นกรณีฉุกเฉินที่คุกคามชีวิตผู้ป่วย ) 3. อธิบายผลการผ่าตัด หรือประสานงานกับแพทย์เพื่อให้ข้อมูลผู้ป่วย / ครอบครัวภายหลังการผ่าตัด กรณีผู้ป่วยเสียชีวิต พยาบาลแสดงออกซึ่งการยอมรับกับปฏิกิริยาความเศร้าโศรกของครอบครัวและช่วยให้ครอบครัวสามารถปรับตัวและยอมรับการสูญเสีย 4. ปฏิบัติต่อผู้ป่วย โดยเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ แม้ในภาวะไม่รู้สึกตัว ระหว่างผ่าตัด เช่น การบอก / ขออนุญาต ก่อนปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล ระมัดระวัง และไม่เปิดเผยส่วนต่าง ๆ ของ ร่างกายผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น การสัมผัสร่างกายของผู้ป่วยด้วยความนุ่มนวล 5. ปฏิบัติตามมาตรการ การปฏิบัติ เพื่อป้องกันประเด็นการขัดแย้งต่อจริยธรรม เช่น การขอบริจาคอวัยวะ การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ และการรักษา ความลับ เป็นต้น 6. ปกป้องความปลอดภัยและสิทธิของผู้ป่วยในภาวะไม่รู้สึกตัว เช่น การระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุ การปกป้องการละเมิดสิทธิของผู้ป่วย * ส่วนพยาบาลผู้ช่วยเหลือรอบนอก ( Circulating Nurse ) ให้การพยาบาลเพื่อ ความปลอดภัยและสุขสบายของผู้ป่วยเมื่อสิ้นสุดการผ่าตัด เช่นเดียวกับพยาบาลส่งเครื่องมือ นอกเหนือจากการส่งเครื่องมือเพิ่มเติม ดังนี้ : 1. ประเมินสภาพความพร้อมของผู้ป่วยหลังผ่าตัดก่อนย้ายออกจากห้องผ่าตัด 2. ถ้าผู้ป่วยยังไม่ตื่นจากยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย ต้องสังเกตและติดตามระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย 3. ดูแลมิให้ทางเดินหายใจอุดกั้น โดยจัดท่าให้เหมาะสมตามระดับความรู้สึกตัวให้นอนตะแคงข้างด้านที่ไม่ได้ทำผ่าตัด หรือนอนหงายเอียงหน้าไปด้านใด ด้านหนึ่ง 4. ดูแลให้ได้รับสารน้ำ ครบถ้วนตามแผนการรักษาร่วมกับวิสัญญีพยาบาล / แพทย์ 5. ดูแลบันทึกสัญญาณชีพ หากผิดปกติต้องรีบรายงานแพทย์ เพื่อให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที 6. สังเกตและสำรวจว่าผ้าปิดแผล แห้งสะอาดหรือมีเลือดซึมมากน้อยเพียงใด บันทึกไว้ รายงานแพทย์ทราบ 7. ดูแลท่อระบายต่าง ๆ ถ้ามี ให้ทำงานได้ดีไม่มีสิ่งอุดตัน 8. ประเมินความเจ็บปวดแผลผ่าตัด โดยสังเกตอาการแสดงทางสีหน้า อาการกระสับกระส่ายและคำบอกเล่าของผู้ป่วย 9. ดูแลความสุขสบายและความปลอดภัยของผู้ป่วย เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากห้องผ่าตัด ด้วยความระมัดระวัง 10. ลงบันทึก ในใบบันทึกหลังผ่าตัด รวบรวมส่งให้กับพยาบาลผู้ประสานงาน ดังนี้ 10.1 คิดเงินค่าผ่าตัด ค่าอุปกรณ์การแพทย์ ค่าชิ้นเนื้อ 10.2 ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ( ถ้ามี ) 10.3 ตรวจเช็คใบสั่งยา 10.4 ตรวจเช็คใบนัด ครั้งต่อไป 10.5 ตรวจเช็คใบรับรองแพทย์ 11. ช่วยวิสัญญีพยาบาล / แพทย์ เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังห้องพักฟื้น หรือหออภิบาล ผู้ป่วยหนักตามความจำเป็น โดยมีการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับสภาพผู้ป่วย เพื่อเตรียม การช่วยเหลือล่วงหน้า 12. เตรียมความพร้อมของห้องผ่าตัดและเครื่องมือ สำหรับผู้ป่วยรายต่อไป * หน้าที่อื่น ๆ เช่นเดียวกับพยาบาลส่งเครื่องมือ ( Scrub Nurse ) |