Intra Operative Nursing Care

Pre Operative Nursing Care

Intra Operative Nursing Care

Post Operative Nursing Care

การดูแลผู้ป่วยในระยะผ่าตัดร่วมกับทีมผ่าตัด

           ก. ก่อนเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัด

               1. ประเมินความพร้อมของผู้ป่วยซ้ำ ก่อนเคลื่อนย้ายเข้าห้องผ่าตัด

      1.1 ความถูกต้องของตัวบุคคลและแผนการผ่าตัด ( Patient Identification ) ความครบถ้วนของการเตรียมผ่าตัดตามแผนการรักษา

      1.2 ความครบถ้วน สมบูรณ์ของเอกสารและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจทางรังสีหรือผลการตรวจพิเศษอื่น

      1.3 สภาพความพร้อมด้านร่างกาย

      1.4 ความวิตกกังวล ความกลัว หรืออาการ ไม่สุขสบายต่าง ๆ

               2. ให้การพยาบาลและเฝ้าระวังผู้ป่วย ขณะรอผ่าตัด โดยคำนึงถึงการดูแลความสุขสบาย ความปลอดภัยและการลดความวิตกกังวล หรือความกลัว

               3. ปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตามแนวทางการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

           ข. หลังจากเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัด เพื่อเอื้ออำนวย ให้กระบวนการผ่าตัดเป็นไปอย่าง ราบรื่นและผู้ป่วยปลอดภัย ให้การพยาบาล ดังนี้

      1. สอบถามความรู้สึก ให้กำลังใจ แนะนำ การปฏิบัติตัว เพื่อรับยาระงับความรู้สึก ( กรณีผู้ป่วยรู้สึกตัวดี )

      2. แนะนำการปฏิบัติตัวและวิธีการสื่อสาร กับทีมผ่าตัดในระหว่างการผ่าตัด ( กรณีผู้ป่วยรับยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ )

      3. ช่วยเตรียมผู้ป่วยรับยาระงับความรู้สึก จัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสมกับประเภทของการ ผ่าตัด และทำความสะอาดผิวหนัง โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความสุขสบายของผู้ป่วย

      4. เตรียมตัวก่อนให้การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด ตามหลัก Standard Precaution

      5. จัดเตรียมโต๊ะผ่าตัด ตรวจสอบ ความพร้อม ความครบถ้วนของ เครื่องมือ เครื่องใช้ ตามหลัก Standard Precaution

      6. ส่งเครื่องมือถูกต้อง ตามขั้นตอน การผ่าตัดและหลักการ Standard Precaution

      7. ช่วยการผ่าตัดโดยระมัดระวัง การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการดึงรั้งของ Retractor เครื่องจี้ หรือการวาง Plate และทำให้คงสภาพการปราศจากเชื้อในบริเวณผ่าตัดตลอดเวลา

      8. เฝ้าระวัง / สังเกตภาวะแทรกซ้อน หรือความเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยขณะผ่าตัดอย่างใกล้ชิด

      9. ตัดสินใจเปลี่ยนแปลง ลำดับการส่งเครื่องมืออย่างถูกต้อง ทันเวลา

      10. ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผ่าตัดและวิธีการช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัย

      11.วินิจฉัยความเปลี่ยนแปลงของสภาพ ร่างกายผู้ป่วยและคาดการณ์เกี่ยวกับ ความต้องการความช่วยเหลือขณะผ่าตัด

      12. ประสานงานกับพยาบาลผู้ช่วยเหลือทีมผ่าตัด เพื่อจัดหาเครื่องมือและการช่วยเหลือ ผู้ป่วย

      13. ประสานงานกับวิสัญญีพยาบาล และเตรียมความพร้อมในการช่วยฟื้นคืนชีพ ตลอดเวลา

      14. ช่วยเหลือในการเก็บสิ่งส่งตรวจ ( ถ้ามี ) อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ก่อนเย็บปิดแผล

      15. ตรวจสอบสิ่งตกค้าง ตรวจนับเครื่องมือ ผ้าซับโลหิต ก่อนเย็บปิดแผลตาม Count procedure และบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

      16. ทำความสะอาดบริเวณรอบแผลผ่าตัด ทายาฆ่าเชื้อ( Antiseptic ) ก่อนปิดแผลผ่าตัด ให้เรียบร้อยตามชนิดของแผลผ่าตัด

           * ส่วนพยาบาลผู้ช่วยเหลือรอบนอก ( Circulating Nurse ) มีหน้าที่ ดังนี้

      1. สังเกตสภาพแวดล้อม การผ่าตัดและปฏิบัติการเพื่อคงไว้ ซึ่งสภาพปราศจากเชื้อภายในห้องผ่าตัดตลอดเวลา

      2. ควบคุมสถานการณ์ภายในห้องผ่าตัด และแก้ไขปัญหาในกรณีวิกฤตฉุกเฉิน ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องมือสำรองในภาวะฉุกเฉิน เช่น การเตรียมอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพ การจัดการกับอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่อาจชำรุดหรือ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผ่าตัดอย่างไม่คาดคิด ( Unexpected intraoperative change )

      3. นำผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัด เมื่อทีมผ่าตัดพร้อมเอกสาร รายงานครบถ้วน ดูแลใช้ผ้าคลุมศีรษะให้ผู้ป่วยก่อนเข้าภายในห้องผ่าตัด

      4. สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วย

      5. จัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสมสำหรับการผ่าตัด ไม่เปิดเผยร่างกายผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น ถ้าจำเป็นต้องบอกให้ผู้ป่วยทราบทุกครั้ง

      6. เตรียมทำความสะอาดผิวหนัง บริเวณที่จะทำการผ่าตัด ตามหลักปลอดเชื้อ ( Sterile Technique )

      7. ช่วยเหลือแพทย์ / ทีมผ่าตัด ในการทำผ่าตัดตามบทบาทหน้าที่

      8. ควบคุมและรักษาสภาวะปลอดเชื้อของห้องผ่าตัดป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไปสู่แผลผ่าตัด

      9. สังเกตความก้าวหน้า ของกระบวนการผ่าตัด คาดการณ์ถึงความต้องการของทีมผ่าตัดและจัดการเพื่อตอบสนอง ความต้องการให้ทันเวลา เช่น จัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่จำเป็นเพิ่มเติม หรือการจัดไฟผ่าตัด เป็นต้น

      10. ร่วมตรวจนับยืนยันจำนวนอุปกรณ์ เครื่องมือ ของมีคมที่ใช้ในการผ่าตัดในร่างกายผู้ป่วยและผ้าซับโลหิต ร่วมกับพยาบาลส่งเครื่องมือก่อนเย็บปิดแผลตาม Count procedures และบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เพื่อป้องกัน การผิดพลาด

      11. ทำความสะอาดบริเวณรอบแผลผ่าตัด ทายาฆ่าเชื้อ ( Antiseptic ) ก่อนปิดแผลผ่าตัดให้เรียบร้อยตามชนิดของแผลผ่าตัด

      12. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย หรือตรวจวินิจฉัย เพิ่มเติม

 Home  Job  Free Styles  Guestbook